
รู้จัก 5 “สัตว์ไฮบริด” ที่เกิดจากการออกแบบสายพันธุ์ของมนุษย์
มนุษย์เรามีความเชื่อมาเป็นเวลานานแล้วว่า พระเจ้าเป็นผู้สร้างและบันดาลสรรพสิ่งให้เกิดขึ้นบนโลกใบนี้ แต่รู้หรือไม่ว่า มนุษย์บางกลุ่มก็ไม่ได้เชื่อเช่นนั้น พวกเขาคิดว่าทุกสิ่งสามารถออกแบบได้เอง ไม่จำเป็นต้องเป็นไปตามกฎธรรมชาติเสมอไป เช่นเดียวกับสิ่งมีชีวิตอย่างสัตว์ ที่สามารถออกแบบสายพันธุ์เองได้ ซึ่งพวกเขาทำการทดลองและผสมพันธุ์สัตว์หลายชนิดที่มีความเป็นไปได้ จนบังเกิดเป็นสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์ใหม่ ที่เรียกว่า“สัตว์ไฮบริด” สงสัยกันแล้วใช่ไหมล่ะคะ ว่าสัตว์ไฮบริดคืออะไร มีลักษณะพิเศษแตกต่างจากสัตว์ทั่วไปมากน้อยแค่ไหน วันนี้เราจะพาไปหาคำตอบกัน แต่ก่อนอื่นเราไปทำความรู้จักกับ ความหมายของสัตว์ไฮบริดกันก่อนดีกว่าค่ะ ถ้าพร้อมแล้วไปกันเลย
สัตว์ไฮบริด (Hybrid Animals)
เป็นที่รู้จักกันดีว่าหมายถึง สัตว์ลูกผสม ที่เกิดจากการผสมข้ามสายพันธุ์ได้ลูกที่เกิดมามีดีเอ็นเอของพ่อและแม่อย่างละครึ่ง ซึ่งบางชนิดก็เกิดโดยธรรมชาติที่สัตว์สายเลือดใกล้เคียงกันผสมพันธุ์กันเอง และบางชนิดก็เกิดจากการทดลองผสมพันธุ์โดยมนุษย์ และนี่คือ 20 สัตว์ไฮบริดที่ถูกผสมข้ามสายพันธุ์จากทั่วโลก ลองมาดูสิว่ามีอะไรกันบ้าง

1. ไทกอน
ไทกอน เป็นสัตว์ชนิดข้ามสายพันธุ์ระหว่างเสือโคร่งกับสิงโต เกิดจากสิงโตเพศเมียมาผสมพันธุ์กับเสือเพศผู้ มีการผสมคล้ายไลเกอร์ เพียงแต่มีขนาดเล็กกว่า เพราะปกติสิงโตตัวเมียจะมียีนยับยั้งการเจริญเติบโตแต่เสือโคร่งตัวเมียไม่มี ไทกอนไม่มีแผงคอ หาดูได้ยากกว่าไลเกอร์มาก
ลูกพ่อเสืออย่างไทกอนนั้น ถ่ายทอดลักษณะมาจากทั้งพ่อและแม่ คืออาจได้ลายจุด ๆ จากแม่สิงโต หรือแถบตามตัวจากพ่อเสือก็ได้ ถ้าเป็นไทกอนตัวผู้ อาจมีแผงคอที่สั้น ๆ ไม่ชัดเจนเหมือนแผงคอสิงโต ส่วนไลเกอร์นั้น หน้าตาเหมือนสิงโตตัวใหญ่ที่มีแถบตามลำตัวเหมือนเสือ โดยอาจจะเป็นลายสีดำ หรือน้ำตาลเข้ม แต่ก็มีบ้างที่มีลายจุด ๆ ตามลำตัวแบบสิงโตหลงเหลืออยู่ด้วย

2. ไลเกอร์
ไลเกอร์ เป็นเสือที่เกิดจากสิงโตตัวผู้ผสมพันธุ์กับเสือโคร่งตัวเมีย มีแผงคอเหมือนสิงโตแต่สั้นกว่าและมีลายเสือโคร่งจาง ๆ มีขนาดใหญ่กว่าเสือและสิงโตมาก เพราะปกติสิงโตตัวเมียจะมียีนยับยั้งการเจริญเติบโต แต่เสือโคร่งตัวเมียไม่มี ไลเกอร์จึงมีร่างกายใหญ่กว่าสัตว์สายพันธ์อื่นในอื่นในตระกูลแมว ให้เสือผสมกับสิงโตโดย
เพราะอย่างนี้ไทกอนจึงตัวเล็ก เพราะได้ยีนยับยั้งการเติบโตจากแม่ ส่วนเจ้าไลเกอร์ก็ตัวใหญ่ เพราะได้ยีนส่งเสริมการเติบโตจากพ่อ ประวัติการบังคับให้เสือผสมกับสิงห์ ด้วยการจับพวกมันมาอยู่ร่วมกรงกันนั้น บันทึกไว้ครั้งแรกที่ประเทศอินเดีย โดยย้อนหลังไปได้ถึงปี 1837 เมื่อมีการส่งไทกอนจากรัฐชัมนคร ของอินเดีย ไปเป็นของขวัญให้ควีนวิกตอเรีย และในปัจจุบัน ส่วนสัตว์หลายแห่งทั่วโลกก็มีไทกอนและไลเกอร์ เป็นดาวเด่นดึงคนมาเที่ยวชม

3. ล่อ
เป็นสัตว์พันธุ์ผสมระหว่าง ลาตัวผู้และม้าตัวเมีย ลูกที่ออกมาโดยเฉพาะตัวผู้จะเป็นหมัน ส่วนตัวเมียบางครั้งอาจมีลูกได้ หากได้รับการผสมพันธุ์จากพ่อม้าหรือลา ล่อที่ออกมานั้นจะมีลักษณะส่วนหัวเล็ก หูยาว มีแผงคอสั้นบางกว่าม้า มีตะโหนกต่ำและหลังตรง ทำให้บรรทุกน้ำหนักได้ดี สะโพกและไหล่เล็กกว่าม้า อกแคบและตื้นกว่า ขา ตรง เหมือนลา มีกีบเล็กแข็งและตั้งตรงทำให้เดินในพื้นที่แข็ง ขรุขระและปีนภูเขาได้ดีกว่าม้า อีกทั้งมันยัง มีความเฉลียวฉลาด แข็งแกร่งว่องไวปราดเปรียว สามารถตรากตรำในพื้นที่ทุรกันดาร ภูมิ-อากาศแปรปรวนได้ดี มีอายุยืนยาวทำงานได้อึด มีความอดทน เท้าที่มั่นคง และมีชีวิตยืนยาวกว่าม้า นิสัยเชื่อง มีสัญชาตญาณการระแวงภัยสูง เดินทางรวดเร็วกว่าลา เหตุนี้เองมันจึงเป็นที่นิยมสำหรับใช้เป็นพาหนะขนของ

4. หมีโกรลาร์
ซึ่งเกิดจากการผสมพันธุ์ข้ามสายพันธุ์ระหว่างหมีกรีซลี กับ หมีขั้วโลก ซึ่งตามปกติธรรมชาตินั้นหมีขั้วโลกจะอาศัยอยู่ในบริเวณพื้นที่น้ำแข็งขั้วโลก ต่างจากหมีกรีซลี ที่อาศัยบนพื้นดิน แต่เมื่ออุณหภูมิเฉลี่ยของผิวโลกเพิ่มส่งผลให้น้ำแข็งขั้วโลกละลายมากขึ้น ทำให้ถิ่นที่อยู่ของหมีทั้ง 2 สายพันธุ์มาพบกัน จนเกิดเป็นหมีโกรลาร์ หรือหมีพริซลี ซึ่งมีสีขาวครีม กรงเล็บยาว หลังค่อม มีรอยดำรอบดวงตา จมูก และหลัง ซึ่งพบโดยนักล่าหมีขั้วโลก บริเวณทิศตะวันตกเฉียงเหนือของแคนาดา ในปี 2006

5. เลเพ่น
ในปี ค.ศ.1959 ที่สวนสัตว์โคชิเอน เมืองนิชิโนะมิยะ จังหวัดเฮียวโงะ ประเทศญี่ปุ่น ได้มีการผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่าง เสือดาวตัวผู้ชื่อ คานีโอะ กับสิงโตตัวเมียชื่อ โซโนโกะ จนเกิดมาเป็น Leopon (เลเพ่น) 2 ตัว และในปี ค.ศ.1962 ก็คลอดเลเพ่นอีก 3 ตัว
แต่เลเพ่นที่โด่งดังที่สุดคือ เลเพ่นเพศผู้ เพราะมันคือเสือดาวที่มีแผงขอแบบสิงโต แต่ไม่ฟูเท่าไหร่นัก ตามบันทึกระบุว่า พวกมันเป็นแมวใหญ่ที่มีขนาดตัวพอ ๆ กับสิงโตตัวเมีย แต่มีขาสั้นแบบเสือดาว มีนิสัยชอบปีนป่ายและไม่กลัวน้ำ ปัจจุบันสูญพันธุ์ไปหมดแล้ว
จบไปแล้วสำหรับ 5 สัตว์ไฮบริด ที่เกิดจากการออกแบบสายพันธุ์ของมนุษย์ ไม่น่าเชื่อเลยใช่ไหมล่ะคะ ว่าจะมีสัตว์แปลก ๆ เหล่านี้ด้วย และไม่เพียงแต่สัตว์ไฮบริดเหล่านี้เท่านั้นนะคะ ที่มนุษย์สามารถออกแบบได้เอง แต่ยังมีพืชและผลไม้หลายชนิด ที่เกิดจากการทดลองตกแต่งข้ามสายพันธุ์ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ และเป็นตัวอย่างในการศึกษาเกี่ยวกับงานวิจัยพันธุ์พืช ที่สำคัญยังทำให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ มากกว่าสายพันธุ์ปกติอีกด้วย อย่างเช่นเจ้าสัตว์ไฮบริดที่เรานำเสนอเป็นข้างต้น ก็มีลักษณะพิเศษกว่าสายพันธุ์เดิมของพวกมันด้วย และสำหรับครั้งหน้า เราจะนำเรื่องอะไรมาฝากอีกนั้น ห้ามพลาดเด็ดขาดค่ะ
แนะนำ 7 ขนมไทย อร่อยฟิน ๆ ทำกินได้ที่บ้าน! ขนมไทย มีอยู่มากมายหลายอย่าง ซึ่งบางเมนูก็เป็นขนมไทยที่หากินได้ยาก แต่วิธีทำช่างง่ายแสนง่าย แถมไม่ต้องใช้เตาอบให้ยุ่งยากแบบขนมฝรั่ง
อ่านบทความน่าสนใจเพิ่มเติม : เบกกิ้งโซดา กับ 10 คุณประโยชน์ ที่คุณไม่เคยรู้มาก่อน!